เพลง ขัดใจ
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
มัสยิด กือเซะ
มัสยิด กือเซะ
มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 7 กม.เป็นมัสยิดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถาน ที่สร้างขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบเสากลม รูปลักษณะแบบเสาโกธิกของยุโรป ช่องประตูหน้าต่างมีทั้งแบบโค้ง แหลมและโค้งมน ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ หลังคาโดม ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีฮวงซุ้ย หรือสุสานที่ฝังศพของ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับการตกแต่งพูนดินใหม่ปรากฏอยู่ มีผู้คนไปกราบไหว้กันมากพร้อมด้วยสิ่ง- ก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เก๋งจีน โอ่งน้ำสีแดง (ซึ่งจุน้ำได้ถึง 120,000 ลิตร) มัสยิดกรือเซะนี้ สร้างโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งเป็นชาวจีนได้มาแต่งงานกับธิดาพระยาตานีและได้เปลี่ยน มานับ ถือศาสนาอิสลาม ต่อมาน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยมชื่อลิ้มกอเหนี่ยว ได้ลงเรือสำเภามาตามให้พี่ชายกลับ เมืองจีนแต่ไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างมัสยิดกรือเซะขึ้น ลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้สาปแช่ง ขออย่าให้สร้าง มัสยิดสำเร็จ และตัวเองได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้จัดการฝังศพน้องสาวไว้ที่หน้า มัสยิดนี้ ชาวปัตตานีนำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้า ต่อมาได้มีการ อัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู ในเขตเทศบาล เมืองปัตตานี เรียกว่าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ( ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) เป็นที่นับถือของชาวปัตตานี และชาวจังหวัด ใกล้เคียง ในเดือน 3 ของทุกปี ( กุมภาพันธ์-มีนาคม ) จะมีพิธีเซ่นไหว้และแห่เจ้าแม่ นับว่าเป็นพิธีที่สนุก- สนานมาก ส่วนมัสยิดกรือเซะก็เป็นไปตามคำสาป เพราะไม่สามารถสร้างเสร็จได้ เมื่อจะสร้างต่อก็ให้มีอาเพศ ฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครกล้าสร้างมัสยิดกรือเซะต่อ คงเหลือซากทิ้งไว้ตราบเท่าทุกวันนี้ครับ
เมืองโบราณ ยะรัง
สถานที่ตั้ง อยู่ในบริเวณ หมู่ที่ ๓ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ประวัติความเป็นมา
เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ - ๑๔๐๐ ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดประมาณ ๕๐๐ X ๕๕๐ เมตร มีคูน้ำ ดันดินล้อมรอบทั้งสี่ด้านและที่ป้องทั้งสี่มุม และมีคูน้ำขุดล้อมต่อลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมของเมืองขยายทางทิศใต้ คือเมืองโบราณบ้านจาและ
หลักฐานที่พบ
จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายประเภท ได้แก่
๑. สถูปจำลองดินดิบ ดินเผาจำนวนมาก ประกอบด้วยประติมากรรมนูนต่ำ รูปท้าวกูเวระ พระพุทธเจ้าประทับนั่งขนาบด้วยสถูปจำลองทั้งสองข้าง
๒. พระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบรูปแบบต่าง ๆ เช่น
๒.๑ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปเดี่ยว แบบสาญจี(โอคว่ำ) ด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๒ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปจำลอง ฐานสูง ๓ องค์เรียงกันด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๓ พระพิมพ์ดินดิบ รูปพระพุทธเจ้าประทับยืนในท่าติกังก์ และทางวิตรรกะมุตรา
๓. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเปอร์เซียเคลือบสีฟ้าอมเขียว
๔. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเซลาคอน สีเขียวมะกอก โบราณวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยศิลปทวาราวดี ทางภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑
เส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณยะรัง
จากตัวเมืองปัตตานี ไปทางทิศใต้ตามถนนสายปัตตานี - ยะลา ประมาณ กิโลเมตร ถึงอำเภอยะรัง เลี้ยวซ้ายสู่เมืองโบราณ ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ - ๑๔๐๐ ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดประมาณ ๕๐๐ X ๕๕๐ เมตร มีคูน้ำ ดันดินล้อมรอบทั้งสี่ด้านและที่ป้องทั้งสี่มุม และมีคูน้ำขุดล้อมต่อลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมของเมืองขยายทางทิศใต้ คือเมืองโบราณบ้านจาและ
หลักฐานที่พบ
จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายประเภท ได้แก่
๑. สถูปจำลองดินดิบ ดินเผาจำนวนมาก ประกอบด้วยประติมากรรมนูนต่ำ รูปท้าวกูเวระ พระพุทธเจ้าประทับนั่งขนาบด้วยสถูปจำลองทั้งสองข้าง
๒. พระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบรูปแบบต่าง ๆ เช่น
๒.๑ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปเดี่ยว แบบสาญจี(โอคว่ำ) ด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๒ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปจำลอง ฐานสูง ๓ องค์เรียงกันด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๓ พระพิมพ์ดินดิบ รูปพระพุทธเจ้าประทับยืนในท่าติกังก์ และทางวิตรรกะมุตรา
๓. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเปอร์เซียเคลือบสีฟ้าอมเขียว
๔. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเซลาคอน สีเขียวมะกอก โบราณวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยศิลปทวาราวดี ทางภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑
เส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณยะรัง
จากตัวเมืองปัตตานี ไปทางทิศใต้ตามถนนสายปัตตานี - ยะลา ประมาณ กิโลเมตร ถึงอำเภอยะรัง เลี้ยวซ้ายสู่เมืองโบราณ ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558
มัสยิดกลางปัตตานี
มัสยิดกลางปัตตานี
เป็นมัสยิดที่สวยที่สุดของไทย สร้างในปี พ.ศ. 2497 และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก หลังคาทรงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว มีโดมใหญ่ 2 โดม รายรอบด้วยโดม เล็กๆ อีกหลายโดม ดูสวยงาม มัสยิดกลางแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตัวเมืองปัตตานี ริมถนนสายปัตตานี-ยะลา (ทางหลวงหมายเลข 410) หรือจากถนนพิพิธแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนไปจังหวัดยะลา ระยะทาง ประมาณ 500 เมตร จะเห็นมัสยิดกลางตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนอย่างสง่างาม
น้ำตกทรายขาว
น้ำตกทรายขาว
ประวัติ
น้ำตกทรายขาวเดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกกระโถน “ มีต้นกำเนิดจากยอดเขาแม่นางจันทร์ บนเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 30 เมตร ความยาวประมาณ 700 เมตรสองข้างลำธารมีต้นไม้ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบรูณ์อันเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำเทพามีเนื้อที 750 ไร่ หรือ 1.15 ตารางกิโลเมตร
จากการบอกเล่าของราษฏรที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้เล่าว่า พระครูศรีรัตนากร (ท่านศรีแก้ว) เจ้าอาวาสวัดทรายขาวเป็นผู้ค้นพบน้ำตกแห่งนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นท่านได้ขอความร่วมมือให้ราษฏรสละแรงงานในการก่อสร้างศาลา บันไดเหล็กและจัดทำถนนขึ้นไปยังน้ำตก เพื่อให้ประชาชนได้พักผ่อนและชมทิวทัศน์ความสวยงามของน้ำตกแห่งนี้
หลังจากนั้น ยังได้ปรับปรุงและทำถนนจากตลาดนาประดู่ไปยังน้ำตกทรายขาวเป็นถนนดิน เมื่อปี พ.ศ. 2479 ทำให้น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและประชาชนมากยิ่งขึ้น
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาใหญ่ จังหวัดปัตตานี ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาใหญ่ จังหวัดยะลา ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอยะหา จังหวัดยะลา และอุทยานแห่งชาติเขาสันกาลาคีรี ในเขตอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่จากการสำรวจครั้งแรกประมาณ 110 ตารางกิโลเมตร หรือ 68,756 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติเตรียมการประกาศจัดตั้งโดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและเลขาธิการรัฐมนตรีแจ้งให้พิมพ์แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา เพื่อจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541
ได้มีกลุ่มราษฎรในท้องที่ตำบล ลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ชุมนุมคัดค้านการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เนื่องจากพื้นที่เตรียมการดั้งกล่าวบางส่วนทับซ้อนพื้นที่ทำกินของราษฎรและได้ทำการสำรวจรังวัดแนวเขตปรับปรุงใหม่โดยส่วนวิศวกรรมป่าไม้ กรมป่าไม้แล้ว ขณะนี้ข้อมูลดังกล่าวได้จัดส่งให้สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อเดือนมกราคม 2546 เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)